การทำงานของเมนบอร์ด (Motherboard)
Motherboard ถือได้ว่าเป็นส่วนสำคัญที่สุดสำหรับเครื่อง
PC เนื่องจากเป็นแผงวงจรหลักที่ติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ
ของเครื่อง โดยส่วนประกอบที่สำคัญของ Motherboard มีดังนี้
1.
Jumper
Jumper จะมีลักษณะกล่องพลาสติกเล็ก
ๆ สีดำหรือสีต่าง ๆ โดยอุปกรณ์ชิ้นนี้จะครอบลงบนขาโลหะ 2 ขา ที่ยื่นมาจากพื้น Motherboard
ซึ่งการที่เราครอบมันไว้ลงบนขาโลหะบน Motherboard นี้ จุดประสงค์ก็เพื่อต้องช็อตขาโลหะทั้ง 2 เข้าด้วยกัน
การกระทำเช่นนี้ให้มองว่า Jumper มีการทำงานไม่ต่างกับสวิตซ์
On/Off นี่เอง โดยจุดประสงค์ของการใช้ Jumper ก็เพื่อทดแทนการติดตั้งสวิตซ์ต่าง ๆ บน Motherboard ซึ่งเราใช้
Jumper เพื่อการเลือกหน้าที่การทำงานหรือสั่งให้ระบบบางอย่างบน
Motherboard ทำงานตามปกติ Motherboard ทั่วไปมีนิยามการติดตั้ง
Jumper อยู่ 2 แบบได้แก่ Open กับ ช็อต
โดยที่ Open คือการถึง Jumper ออก
ซึ่งมักจะหมายถึงการปิดสวิตซ์ ไม่ต้องการให้ทำงาน และช็อต มักจะหมายถึงการครอบ Jumper
ลงไปที่ขาทั้ง 2 เป็นการเปิดสวิตซ์ให้ทำงาน อย่างไรก็ดี Motherboard
บางรุ่น ใช้วิธีการที่กลับข้างกัน รวมทั้งตัว Jumper ที่สมบูรณ์จะต้องประกอบด้วยชุดตัวครอบและขาโลหะเสมอ
ชนิดของ
Jumper
บน Motherboard ทั่วไป
ชนิดของ Jumper
บน Motherboard แต่ละรุ่นอาจมีจำนวนไม่เท่ากัน
แม้จะต่างกัน แต่ทุก ๆ Motherboard จะต้องมี Jumper ที่เป็นมาตรฐานเหมือนกันหมดทุก Motherboard ซึ่งสามารถแยกออกเป็นชนิดต่าง
ๆ ได้ดังนี้
- Jumper ที่ใช้เลือก System Bus Clock ของ Processor บางทีก็เรียกว่า CPU External BUS Frequency Jumper ก่อนที่กล่าวถึงหน้าที่ของ
Jumper ตัวนี้ ก็จะกล่าวถึง Clock ก่อน
ในอุปกรณ์ต่าง ๆ บน Motherboard รวมทั้งอุปกรณ์เสริม เช่น I/O
Card ต่าง ๆ
สามารถทำงานได้บนจังหวะที่ควบคุมด้วยความถี่ที่เรียกว่าสัญญาณนาฬิกา
ซึ่งสัญญาณนี้มีระบบวงจรที่เรียกว่า Clock Generator เป็นผู้สร้างความถี่ขึ้น
ความถี่สัญญาณนาฬิกานี้ไม่เพียงแต่ใช้กำหนดจังหวะการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ บน Motherboard
และ I/O Card แล้ว
ยังเป็นผู้กำหนดความเร็วในการสื่อสารข้อมูลไปมาระหว่าง CPU กับอุปกรณ์หลักต่าง
ๆ เช่น หน่วยความจำ RAM เป็นต้น ที่ว่า Motherboard
BUS 66 หรือ BUS 100 หมายถึง
อัตราความเร็วในรูปคลื่นความถี่ขนาด 66 หรือ 100 MHz. ที่ใช้ควบคุมความเร็วการสื่อสารข้อมูลระหว่าง
CPU กับอุปกรณ์ต่าง ๆ นั่นเอง
โดยตัวสร้างสัญญาณนาฬิกานี้ก็เป็น Chip ที่สนับสนุนการทำงานของ
Motherboard และอุปกรณ์ต่าง ๆ
- Jumper ที่ใช้เลือก System Bus Clock นี้ก็ด้วยจุดประสงค์เพื่อให้ระบบวงจรที่เรียกว่า
Clock Generator หรือตัวสร้างความถี่นี้ทำการผลิตความถี่สัญญาณนาฬิกาด้วยความเร็วที่เหมาะสมป้อนให้กับตัว
CPU เพื่อให้ CPU สามารถที่จะ Input
หรือ Output ข้อมูลด้วยความเร็วที่ต้องการ
ในการนี้ข้อมูลที่อยู่บนเส้นสัญญาณ Input/Output ของ CPU
หรือที่เรียกว่า CPU Bus จะวิ่งด้วยความเร็วตามที่กำหนดไว้โดย
Jumper ตัวนี้ อย่างไรก็ดี การตั้งค่าความเร็วด้วย Jumper
ชุดนี้จะต้องสอดคล้องกับตัว CPU ซึ่ง CPU
แต่ละยี่ห้อหรือแต่ละรุ่นมี System Bus Clock ที่แตกต่างกัน
การกำหนดขนาดของ System Bus Clock ที่ผิด อาจทำให้ CPU
เกิดอาหารไหม้ หรือเครื่องเกิดอาการ Hang เป็นประจำก็ได้
- Jumper ที่ใช้ Clear CMOS Jumper ตัวนี้
มีไว้เพื่อเคลียร์ค่าบ่างสิ่งบางอย่างใน CMOS RAM ซึ่งใช้เป็นที่เก็บค่าต่าง
ๆ ในทาง Hardware (Hardware Configuration) รวมทั้งที่เกี่ยวข้องกับปฏิทินเวลา
วันเดือนปี นอกจากนี้ยังมี Password ที่เราตั้งค่าไว้เพื่อป้องกันมิให้ผู้อื่นเข้ามาแก้ไขข้อมูลใน
CMOS ของเรา ซึ่งในกรณีที่เราลืม Password และไม่สามารถเข้าไปแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลใน CMOS ก็สามารถใช้
Jumper นี้เพื่อการลบ Password ออกชั่วคราว
ข้อสังเกตคือ Jumper ชุดนี้จะวางอยู่ใกล้กับ Battery
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]
<< หน้าแรก