วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การทำงานของอุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ

การทำงานเครื่องพิมพ์ (Printer)
     เครื่องพิมพ์เป็นอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เพื่อทำหน้าที่ในการแปลผลลัพธ์ที่ได้จาก การประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในรูปของอักขระหรือรูปภาพที่จะไปปรากฏอยู่บนกระดาษ นับเป็นอุปกรณ์แสดลงผลที่นิยมใช้ 
1. เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ (Dot Matrix Printer)

        เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์เป็นเครื่องพิมพ์ที่นนิยมใช้งานกันแพร่หลายมากที่สุด เนื่องจากราคา และคุณภาพการพิมพ์อยู่ในระดับที่เหมาะสม การทำงานของเครื่องพิมพ์ชนิดนี้ใช้หลักการสร้างจุด ลงบน กระดาษโดยตรง หัวพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ มีลักษณะเป็นหัวเข็ม (pin) เมื่อต้องการพิมพ์สิ่งใดลงบนกระดาษ หัวเข็มที่อยู่ในตำแหน่งที่ประกอบกันเป็น ข้อมูลดังกล่าวจะยื่นลำหน้าหัวเข็มอื่น เพื่อไปกระแทกผ่านผ้าหมึก ลงบนกระดาษ ก็จะทำให้เกิดจุดขึ้น การพิมพ์แบบนี้จะมีเสียงดัง พอสมควร ความคมชัดของข้อมูลบน กระดาษขึ้นอยู่กับจำนวนจุด ถ้าจำนวนจุดยิ่งมากข้อมูลที่พิมพ์ลงบนกระดาษก็ยิ่งคมชัดมากขึ้น ความเร็ว ของเครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์อยู่ระหว่าง 200 ถึง 300 ตัวอักษรต่อวินาที หรือประมาณ 1 ถึง 3 หน้าต่อนาที เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ เหมาะสำหรับงานที่พิมพ์แบบฟอร์มที่ต้องการซ้อนแผ่นก๊อปปี้ หลาย ๆ ชั้น เครื่องพิมพ์ชนิดนี้ ใช้กระดาษต่อเนื่องในการพิมพ์ ซึ่งกระดษาประเภทนี้จะมีรูข้างกระดาษทั้งสองเอาให้ หนามเตยของเครื่องพิมพ์เลื่อนกระดาษ

2. เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก (Ink-Jet Printer)

        เครื่องพิมพ์พ่นหมึกมีความเร็วในการพิมพ์ มากว่าแบบดอตแมทริกซ์ มีหน่วยวัดความเร็วเป็นในการ พิมพ์เป็น PPM (Page Per Minute) ซึ่งเร็วกว่าเครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์มาก อย่างไรก็ตามถ้าเป็นการพิมพ์ กราฟิกหรือตัวอักษรที่มีรูปแบบในเวลาเดียวกัน เครื่องพิมพ์พ่นหมึกจะทำงานได้ช้าลง กระดาษที่ใช้กับเครื่อง พิมพ์พ่นหมึกจะเป็นขนาด 8.5 X 11 นิ้ว หรือ A4 ซึ่งสามารถพิมพ์ได้ ทั้งแนวตั้งที่เรียกว่า "พอร์ทเทรต" (Portrait) และแนวนอนที่เรียกว่า "แลนด์สเคป" (Landscape) โดยกระดาษจะถูกวางเรียงซ้อนกัน อยู่ในถาด และถูกป้อน เข้าไปในเครื่องพิมพ์ที่ละแผ่นเหมือนเครื่องถ่ายเอกสาร

3. เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Laser Printer)

        เครื่องพิมพ์เลเซอร์ เป็นเครื่องที่มีคุณสมบัติเหมือนกับเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก แต่สามารถทำงาน ได้เร็วกว่า โดยเครื่องพิมพ์เลเซอร์ สามารถพิมพ์ตัวอักษรได้ทุกรูปแบบและทุกขนาดรวมทั้งสามารถพิมพ์งาน กราฟิกที่คมชัดได้ด้วย เครื่องเลเซอร์ใช้เทคโนโลยี เดียวกับเครื่องถ่ายเอกสาร คือยิงเลเซอร์ไปสร้างภาพบน กระดาษในการสร้างรูปภาพ หรือตัวอักษรบนกระดาษ

        หน่วยวัดความเร็วของเครื่องพิมพ์เลเซอร์จะเป็น PPM เช่นเดียวกับ เครื่องพิมพ์พ่นหมึกในปัจจุบัน ความสามารถ ในการพิมพ์ของเครื่องพิมพ์เลเซอร์คุณภาพสูง สามารถพิมพ์ได้หลายร้อยหน้าต่อนาที ซึ่งเหมาะ กับงานในองค์กรขนาดใหญ่ จะนำไปใช้งานในการพิมพ์เอกสารต่าง ๆ ส่วนคุณภาพงานพิมพ์ของเครื่องจะวัด ด้วยความละเอียดในการสร้างจุดลงในกระดาษ ขนาด 1 ตารางนิ้ว เช่นความละเอียดที่ 300 dpi หรือ 600 dpi หรือ 1200 dpi เครื่องพิมพ์เลเซอร์ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ก็จะมีทั้งเครื่องพิมพ์เลเซอร์แบบ ขวา-ดำ และเครื่องพิมพ์ เลเซอร์แบบสี ซึ่งเครื่องพิมพ์เลเซอร์แบบสีจะมีราคาแพงมาก แต่งานพิมพ์ที่ได้ออกมาก็มีคุณภาพสูง


การทำงานสแกนเนอร์ (Scanner)

            สแกนเนอร์ คืออุปกรณ์ซึ่งจับภาพและเปลี่ยนแปลงภาพจากรูปแบบของแอนาลอกเป็นดิจิตอลซึ่งคอมพิวเตอร์ สามารถแสดงเรียบเรียงเก็บรักษาและผลิตออกมาได้ ภาพนั้นอาจจะเป็นรูปถ่ายข้อความภาพวาด หรือแม้แต่วัตถุสามมิติ สามารถใช้สแกนเนอร์ทำงานต่างๆได้
การทำงานของสแกนเนอร์
             การจับภาพของสแกนเนอร์ ทำโดยฉายแสงบนเอกสารที่จะสแกน แสงจะผ่านกลับไปมาและภาพ จะถูกจับโดยเซลล์ที่ไวต่อแสง   เรียกว่า charge-couple device หรือ CCD ซึ่งโดยปกติพื้นที่มืดบน กระดาษจะสะท้อนแสงได้น้อยและพื้นที่ที่สว่างบนกระดาษจะสะท้อนแสงได้มากกว่า CCD จะสืบหาปริมาณแสงที่สะท้อนกลับจากแต่ละพื้นที่ของภาพนั้น และเปลี่ยนคลื่นของแสงที่สะท้อน กลับมาเป็นข้อมูลดิจิตอล  หลังจากนั้นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับการสแกนภาพก็จะแปลงเอาสัญญาณเหล่านั้นกลับมาเป็นภาพ บนคอมพิวเตอร์อีกทีหนึ่ง


การทำงานของลำโพง

            ลำโพงคอมพิวเตอร์ หรือ ลำโพงมัลติมีเดีย เป็นลำโพงภายนอก ที่ต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลโดยผ่านช่องเสียบซึ่งต่อจากการ์ดเสียงภายในเครื่อง โดยอาจต่อเข้ากับแจ็คสตอริโอธรรมดา หรือขั้วต่ออาร์ซีเอ (RCA connector) และยังมีจุดเชื่อมต่อยูเอสบี สำหรับใช้ในปัจจุบัน โดยมีแรงดันไฟจ่าย 5 โวลต์ ลำโพงคอมพิวเตอร์มักจะมีขุดขยายเสียงขนาดเล็ก และชุดแหล่งจ่ายไฟต่างหาก
            ปัจจุบันลำโพงสำหรับคอมพิวเตอร์มีด้วยกันหลากหลายรูปแบบ ขนาด และราคา ปกติจะมีขนาดเล็ก ให้มาพร้อมกับคอมพิวเตอร์ แต่ก็มีการผลิตลำโพงคอมพิวเตอร์ที่ซับซ้อน สามารถปรับแต่งเสียงทุ้มแหลม หรือคุณลักษณะอื่นๆ ได้ลักษณะทั่วไป
            ลำโพงคอมพิวเตอร์แต่ละยี่ห้อแต่ละรุ่นมีคุณสมบัติแตกต่างกันไป แต่ปกติแล้วจะมีคุณสมบัติต่อไปนี้เป็นมาตรฐาน
 - ไฟLED บอกสถานการเปิดเครื่อง
 - แจ็คเสียบหูฟัง ขนาด 1/8" หรือ 1/4" ไว้สำหรับเสียบหูฟังหรือนำไปต่อเครื่องขยายอีกทีหนึ่ง
 - ปุ่มปรับความดัง ทุ้ม แหลม (ลำโพงขนาดเล็กอาจไม่มี)
 - รีโมทคอนโทรลแบบมีสาย หรือไร้สาย สำหรับปรับโวลลุ่ม หรือเปิดปิดลำโพ

การทำงานของไมโครโฟน

            ไมโครโฟน คืออุปกรณ์รับเสียงแล้วแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้า เพื่อประมวลผลในเครื่องขยายเสียงหรืออุปกรณ์ผสมเสียงอื่น ๆ ไมโครโฟนประกอบด้วยขดลวดและแม่เหล็กเป็นหลัก เมื่อเสียงกระทบตัวรับในไมโครโฟน จะทำให้ขดลวดสั่นสะเทือนตัดกับสนามแม่เหล็ก จึงทำให้เกิดสัญญาณไฟฟ้า ซึ่งเป็นหลักการทำงานตรงข้ามกับลำโพง โดยทั่วไปไมโครโฟนใช้รับเสียงพูดหรือเสียงร้องเพลง
ชนิดของไมโครโฟน แบ่งตามหลักการทางไฟฟ้า ได้ 2 ประเภท ได้แก่
แบบไดนามิก และแบบคอนเดนเซอร์
 - แบบไดนามิก ทำงานโดยการสั่นสะเทือนของขดลวด ที่อยู่รอบแกนแม่เหล็ก ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้า อาศัยหลักการเหนี่ยวนำไฟฟ้า
 - แบบคอนเดนเซอร์ ปล่อยกระแสไฟฟ้าสายตรง ไหลไปยังตัวไมค์ ซึ่งมีแผ่นโลหะบางๆตรวจจับการสั่นสะเทือนของอากาศ แล้วเปิด-ปิดทางเดินของวงจรไฟฟ้า


การทำงานของ Flash Memory


            หลักในการทำงานของ Flash Memory เริ่มจากเซล Memory จะถูกจัดเรียงแบบ Grid โดยเซลแต่ละเซลในชิฟ Flash Memory จะเก็บข้อมูลแบบถาวรเหมือนกับห้องขังที่มีประตูกั้นกระแสไฟฟ้าเอาไว้เป็น กลุ่มของ Electron เช่น ถ้าใน 1 Cell สามารถบรรจุ Electron ได้ถึง 13 ตัว เมื่อมีกระแสไฟฟ้าเข้าไป Electron จะถูกปล่อยออกมาโดยแต่ละ Cell จะถูกไฟฟ้ากระตุ้นไม่เท่ากัน ซึ่งการกระตุ้นจะเกิดจากการแปลงค่าข้อมูลที่เข้ามาเป็นค่าตัวเลขที่เป็นเลข ฐาน 2 ตัว Controller จะมีการกำหนดว่า Electron ที่อยู่ภายในแต่ละ Cell ควรมีค่าเป็นเท่าใด เช่น ถ้ามีค่า Electron น้อยกว่าหรือเท่ากับที่กำหนดไว้ให้มีค่าของ Cell นั้นเป็น 1 นอกนั้นให้เป็น 0 เป็นต้นข้อมูลที่อยู่ในรูปของตัวเลขจะถูกเก็บไว้และมีค่าคงเดิมจนกว่าจะเกิด การกระตุ้นของไฟฟ้า เพื่อทำการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง เนื่องจากเมื่อมีการนำไฟฟ้าออก Cell จะทำการปิดไม่ให้ Electron นั้นออก หรือกลับเข้ามาได้เลย

การทำงานของเราท์เตอร์
            หน้าที่หลักของเราท์เตอร์ (Router) คือ การหาเส้นทางในการส่งผ่านข้อมูลที่ดีที่สุด และเป็นตัวกลางในการส่งต่อข้อมูลไปยังเครือข่ายอื่นๆ ทั้งนี้ เราท์เตอร์(Router) สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายที่ใช้สื่อสัญญาณหลายแบบแตกต่างกันได้ ไม่ว่าจะเป็น Etherner , Token Rink หรือ FDDI ทั้งๆ ที่ในแต่ละระบบจะมี packet เป็นรูปแบบของตนเองซึ่งแตกต่างกัน โดยโปรโตคอลที่ทำงานในระดับบนหรือ Layer 3 ขึ้นไปเช่น IP, IPX หรือ Apple Talk เมื่อมีการส่งข้อมูลก็จะบรรจุข้อมูลนั้นเป็น packet ในรูปแบบของ Layer 2 คือ Data Link Layer เมื่อเราท์เตอร์ (Router) ได้รับข้อมูลมาก็จะตรวจดูใน packet เพื่อจะทราบว่าใช้โปรโตคอลแบบใด จากนั้นก็จะตรวจดูเส้นทางส่งข้อมูลจากตาราง Routing Table ว่าจะต้องส่งข้อมูลนี้ไปยังเครือข่ายใด จึงจะต่อไปถึงปลายทางได้ แล้วจึงบรรจุข้อมูลลงเป็น packet ของ Data Link Layer ที่ถูกต้องอีกครั้ง เพื่อส่งต่อไปยังเครือข่ายปลายทาง


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]

<< หน้าแรก