การดูแลรักษาคอมพิวเตอร์
การดูแลรักษาคอมพิวเตอร์
จะแบ่งออกเป็นหลักๆ ได้ 3
อย่าง
1. การดูแลรักษาคอมพิวเตอร์ ทางด้าน Hardware (ฮาร์ดแวร์) อุปกรณ์ต่างๆ ภายใน และภายนอกคอมพิวเตอร์
- เรื่องความสะอาด เป็นสิ่งจำเป็นมากสำหรับ การดูแลรักษาคอมพิวเตอร์ ยกตัวอย่าง หากไม่ทำความสะอาดเลยจนมีฝุ่นไปติดตามที่ระบายอากาศของคอมพิวเตอร์ จะทำให้การระบายความร้อนไม่ได้ เป็นสาเหตุให้คอมพิวเตอร์ร้อน และเกิดอาการเครื่องค้าง หรือแฮงค์ หรือจะเป็นเรื่องปุ่มคีย์บอร์ด หากไม่ทำความสะอาดเลยเป็นสัปดาห์ หรือเป็นเดือน บริเวณปุ่มกดจะสกปรกมาก ๆ ซึ่งเมืองนอกวิจัยกันมาแล้วว่า สกปรกพอ ๆ กับห้องน้ำ เลยทีเดียว ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพแน่นอน
- ที่ตั้งของคอมพิวเตอร์ ที่เราไปวางไว้เป็นมุมอับ การระบายความร้อนจะไม่ดีเท่าที่ควร แนะนำ อย่าวางใกล้ชิดติดกำแพง หรือไปวางในมุมอับ ควรเป็นมุมที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก จะดีที่สุด ถ้าไม่มีมุมที่ตั้งจริงๆ ก็เอาพัดลมเป่าช่วยก็ได้
- เรื่องความสะอาด เป็นสิ่งจำเป็นมากสำหรับ การดูแลรักษาคอมพิวเตอร์ ยกตัวอย่าง หากไม่ทำความสะอาดเลยจนมีฝุ่นไปติดตามที่ระบายอากาศของคอมพิวเตอร์ จะทำให้การระบายความร้อนไม่ได้ เป็นสาเหตุให้คอมพิวเตอร์ร้อน และเกิดอาการเครื่องค้าง หรือแฮงค์ หรือจะเป็นเรื่องปุ่มคีย์บอร์ด หากไม่ทำความสะอาดเลยเป็นสัปดาห์ หรือเป็นเดือน บริเวณปุ่มกดจะสกปรกมาก ๆ ซึ่งเมืองนอกวิจัยกันมาแล้วว่า สกปรกพอ ๆ กับห้องน้ำ เลยทีเดียว ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพแน่นอน
- ที่ตั้งของคอมพิวเตอร์ ที่เราไปวางไว้เป็นมุมอับ การระบายความร้อนจะไม่ดีเท่าที่ควร แนะนำ อย่าวางใกล้ชิดติดกำแพง หรือไปวางในมุมอับ ควรเป็นมุมที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก จะดีที่สุด ถ้าไม่มีมุมที่ตั้งจริงๆ ก็เอาพัดลมเป่าช่วยก็ได้
2. การดูแลรักษาคอมพิวเตอร์ ทางด้าน Software (ซอฟต์แวร์) โปรแกรมที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เรื่องการดูแลรักษา Software
มีโอกาสเจอได้หลายรูปแบบ มีข้อระมัดระวัง คือ
- การลงโปรแกรม ลงเฉพาะที่เราใช้ การลงโปรแกรมมากไปจะทำให้เครื่องอืด หรือช้า จนถึงอาการที่เรียกว่า แฮงค์
- การเก็บข้อมูล ข้อมูล เอกสาร ไฟล์ต่างๆ ที่เราจะเก็บไว้ แนะนำอย่าไปเก็บใน Drive C: ควรเก็บไว้ Drive อื่นแทน ส่วนมาก Drive C ควรลงเฉพาะโปรแกรม ไม่ควรเก็บไฟล์งานที่สำคัญ หรือพวกหนังเพลงเอาไว้ เนื่องจากส่วนมากเวลามีปัญหาจะเกิดกับ Drive C เป็นหลัก อีกอย่างเมื่อต้องการล้างเครื่องลงโปรแกรมใหม่ ก็สามารถลบ Drive C แล้วลงใหม่ได้ Windows หรือระบบปฏิบัติการใหม่ได้เลย ไม่จำเป็นต้องเสียเวลาย้ายข้อมูลไปไว้ Drive อื่น
- การลงโปรแกรม ลงเฉพาะที่เราใช้ การลงโปรแกรมมากไปจะทำให้เครื่องอืด หรือช้า จนถึงอาการที่เรียกว่า แฮงค์
- การเก็บข้อมูล ข้อมูล เอกสาร ไฟล์ต่างๆ ที่เราจะเก็บไว้ แนะนำอย่าไปเก็บใน Drive C: ควรเก็บไว้ Drive อื่นแทน ส่วนมาก Drive C ควรลงเฉพาะโปรแกรม ไม่ควรเก็บไฟล์งานที่สำคัญ หรือพวกหนังเพลงเอาไว้ เนื่องจากส่วนมากเวลามีปัญหาจะเกิดกับ Drive C เป็นหลัก อีกอย่างเมื่อต้องการล้างเครื่องลงโปรแกรมใหม่ ก็สามารถลบ Drive C แล้วลงใหม่ได้ Windows หรือระบบปฏิบัติการใหม่ได้เลย ไม่จำเป็นต้องเสียเวลาย้ายข้อมูลไปไว้ Drive อื่น
- การเข้า Web ผู้ใหญ่ เช่น เว็บโป๊
ส่วนมากเว็บแนวนี้เป็นช่องทางที่ดีเลยครับสำหรับ พวก Hacker เพราะสามารถฝังไวรัส
หรือ สปายแวร์ ไว้กับเครื่องผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บดังกล่าว
ส่วนมากจะมีกิจกรรมให้ทำหน้าเว็บ เช่น เชิญคลิก อะไรประมาณนี้
เมื่อเราคลิกแล้วก็จะติดตั้งไวรัส หรือ สปายแวร์ ลงเครื่องผู้ใช้
ทางที่ดีควรหลีกเลี่ยงเว็บเหล่านี้ หากเลี่ยงไม่ได้เมื่อเข้าไปแล้ว
ก็พยายามอย่าคลิกอะไรมั่ว ๆ นะ
- ติดโปรแกรมพวกป้องกัน ป้องกันไวรัส ป้องกันสปายแวร์ และหมั่น Update โปรแกรมพวกนี้อยู่เสมอ จะช่วยได้ระดับหนึ่งเลย
- ติดโปรแกรมพวกป้องกัน ป้องกันไวรัส ป้องกันสปายแวร์ และหมั่น Update โปรแกรมพวกนี้อยู่เสมอ จะช่วยได้ระดับหนึ่งเลย
- การดูแล และ บำรุงรักษาระบบ
ขั้นพื้นฐาน สิ่งที่ทำก็คือ Disk Cleanup ( เก็บกวาดขยะบนฮาร์ดดิส
), Check disk ( ตรวจสอบสภาพฮาร์ดดิส ) และ Disk
Defragmenter ( จัดเรียงข้อมูลเพื่อเร่งความเร็ว)
3. การดูแลรักษาคอมพิวเตอร์ทางด้าน Peopleware (พีเพิลแวร์) บุคคลที่ใช้งาน คอมพิวเตอร์
- ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานช้า เวลาสั่งคอมพิวเตอร์ให้ทำอะไร ควรรอคอมพิวเตอร์ประมวลผลให้เสร็จก่อนที่จะทำการเปิดโปรแกรมอื่น ๆ เพราะถ้าเราเปิดโปรแกรมอื่น ๆ เพิ่มขึ้นมาอีกจะทำให้คอมพิวเตอร์แฮงค์ หรือค้างได้
สาเหตุที่ทำให้PCเกิดความเสียหาย
1.ความร้อน
ความร้อนที่เป็นสาเหตุทำให้คอมพิวเตอร์มีปัญหา ส่วนใหญ่เกิดจากความร้อนของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์บนเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์ เองวิธีแก้ปัญหา คือ จะต้องรีบระบายความร้อนที่เกิดจากอุปกรณ์ต่างๆ ออกไปให้เร็วที่สุด
วิธีแก้ปัญหา
- พัดลมระบายความร้อนทุกตัวในระบบ ต้องอยู่ในสภาพดี 100 เปอร์เซนต์ อุณหภูมิที่เหมาะสมที่สุดควรจะอยู่ระหว่าง 60-70 องศาฟาเรนไฮต์
- ใช้เพาเวอร์ซัพพลาย ในขนาดที่ถูกต้อง
- ใช้งานเครื่องในย่านอุณหภูมิที่ปลอดภัย อย่าตั้งอยู่ในบริเวณที่มีแสงแดดส่องถึงเป็นเวลานานๆ
2.ฝุ่นผง
เป็นที่ทราบกันดีว่าในอากาศมีฝุ่นผงกระจัดกระจายอยู่ใน ทุกๆ ที่ ฝุ่นผงที่เกาะติดอยู่บนแผงวงจรของคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่เสมือนฉนวนป้องกันความร้อน ทำให้ความร้อนที่เกิดขึ้นในระบบ ไม่สามารถระบายออกสู่สภาพแวดล้อมภายนอก นอกจากนี้อาจไปอุดตันช่องระบายอากาศของเพาเวอร์ซัพพลายหรือฮาร์ดดิสค์ หรืออาจเข้าไปอยู่ระหว่างแผ่นดิสค์กับหัวอ่าน ทำให้แผ่นดิสค์หรือหัวอ่านเกิดความเสียหายได้
วิธีแก้ไข
- ควรทำความสะอาดภายในเครื่องทุก 6 เดือน หรือทุกครั้งที่ถอดฝาครอบ
- ตัวถัง หรือ ชิ้นส่วนภายนอกอาจใช้สเปรย์ทำความสะอาด
- วงจรภายในให้ใช้ลมเป่าและใช้แปรงขนอ่อนๆ ปัดฝุ่นออก
- อย่าสูบบุหรี่ใกล้เครื่องคอมพิวเตอร์
- ควรทำความสะอาดภายในเครื่องทุก 6 เดือน หรือทุกครั้งที่ถอดฝาครอบ
- ตัวถัง หรือ ชิ้นส่วนภายนอกอาจใช้สเปรย์ทำความสะอาด
- วงจรภายในให้ใช้ลมเป่าและใช้แปรงขนอ่อนๆ ปัดฝุ่นออก
- อย่าสูบบุหรี่ใกล้เครื่องคอมพิวเตอร์
3.สนามแม่เหล็ก
แม่เหล็กสามารถทำให้ข้อมูลในแผ่นดิสก์หรือฮาร์ดดิสก็สูญ หายได้อย่างถาวร แหล่งที่ให้กำเนิดสนามแม่เหล็กในสำนักงานมีอยู่มากมาหลายประเภท อาทิเช่น
- แม่เหล็กติดกระดาษบันทึกบนตู้เก็บแฟ้ม
- คลิปแขวนกระดาษแบบแม่เหล็ก
- ไขควงหัวแม่เหล็ก
- ลำโพง
- มอเตอร์ในพรินเตอร์
- UPS
วิธีแก้ไข
- ควรโยกย้ายอุปกรณ์ที่มีกำลังแม่เหล็กมากๆ ให้ห่างจากระบบคอมพิวเตอร์
4.สัญญาณรบกวนในสายไฟฟ้า
สัญญาณรบกวนในสายไฟฟ้ามีหลายลักษณะ อาทิเช่น แรงดันเกิน แรงดันตก ทรานเชียนต์ ไฟกระเพื่อม
แรงดันเกิน ในกรณีที่เครื่องของท่านได้รับแรงดันไฟฟ้าเกินจากปกติ เป็นเวลานานกว่า วินาที จะมีผลทำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ภายในเครื่องเกิดความเสียหายได้
แรงดันตก ใน กรณีที่มีการใช้ไฟฟ้ากันมากเกินความสามารถในการจ่ายพลังงานไฟฟ้า จะมีผลทำให้เกิดเหตุการณ์ไฟตกได้ ไฟตกอาจทำให้การทำงานของเพาเวอร์ซัพพลายผิดพลาดได้ เนื่องจากเพาเวอร์ซัพพลายพยายามจ่ายพลังงานให้กับวงจรอย่างสม่ำเสมอ โดยไปเพิ่มกระแส แต่การเพิ่มกระแสทำให้ตัวนำ เพาเวอร์ซัพพลายและอุปกรณ์ต่างๆ ร้อนขึ้น ซึ่งมีผลทำให้อุปกรณ์ต่างๆ เกิดความเสียหายได้
ทรานเชียนต์ การที่ไฟฟ้ามีแรงดันสุง (sags) หรือต่ำกว่าปกติ (surge) ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ทรานเชียนต์ที่เกิดในบางครั้งจะมีความถี่สูงมาก จนกระทั่งสามารถเคลื่อนที่ผ่านตัวเก็บประจุไฟฟ้าในเพาเวอร์ซัพพลาย เข้าไปทำความเสียหายให้แก่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้
ไฟกระเพื่อม ทุกครั้งที่ท่านเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้า จะทำให้กำลังไฟเกิดการกระเพื่อม เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องการกระแสไฟฟ้ามากๆ ก็จะทำให้ความแรงของการกระเพื่อมมีค่ามากตามไปด้วย จากการศึกษาพบว่า การเปิดใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละครั้งจะทำให้เกิดการกระเพื่อม- ครั้ง ภายในเสี้ยววินาที การกระเพื่อมจะมีผลต่อทุกๆ ส่วนภายในตัวเครื่อง รวมทั้งหัวอ่านข้อมูลของฮาร์ดดิสค์ด้วย
วิธีแก้ไข
- ในกรณีไฟเกิน ไฟตก และทรานเชียนต์ แก้ไขได้โดยการใช้เครื่องควบคุมกระแสไฟฟ้า หรือ ที่เรียกว่า Stabilizer
- ส่วนไปกระเพื่อม แก้ได้โดยการลดจำนวนครั้งในการปิดเปิดเครื่อง
5.ไฟฟ้าสถิต
ไฟฟ้าสถิตสามารถเกิดขึ้นได้ทุกฤดูกาล แต่ในสภาวะที่อากาศแห้ง จะส่งผลให้ความเป็นฉนวนไฟฟ้าสูง ประจุของไฟฟ้าสถิตจะสะสมอยู่เป็นจำนวนมาก และหาทางวิ่งผ่านตัวนำไปยังบริเวณที่มีศักย์ไฟฟ้าต่ำกว่า ดังนั้นเมื่อท่านไปจับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ประจุของไฟฟ้าสถิตจากตัวท่านจะวิ่งไปยังอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เหล่านั้น ทำให้อุปกรณ์เกิดความเสียหายได้ แต่ในสภาวะที่มีความชื้นสูง ไฟฟ้าสถิตที่เกิดขึ้นจะรั่วไหลหายไปในระยะเวลาอันสั้น
วิธีแก้ไข
- ควรทำการคายประจุไฟฟ้าสถิตด้วยการจับต้องโลหะอื่นที่ไม่ใช้ตัวถังเครื่องคอมพิวเตอร์ ก่อนจะสัมผัสอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบคอมพิวเตอร์
6.น้ำและสนิม
น้ำและสนิมเป็นศัตรูตัวร้ายของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุก ชนิด สนิมที่พบในเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์ มักจะเกิดจากการรั่วซึมของแบตเตอรี่บนเมนบอร์ด ซึ่งถ้าเกิดปัญหานี้ขึ้น นั่นหมายความว่าท่านจะต้องควักกระเป๋าซื้อเมนบอร์ดตัวใหม่มาทดแทนตัวเก่าที่ ต้องทิ้งลงถังขยะสถานเดียว
วิธีแก้ไข
- หลีกเลี่ยงการนำของเหลวทุกชนิดมาวางบนโต๊ะคอมพิวเตอร์ของท่าน
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]
<< หน้าแรก