วันจันทร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2557

การดูแลรักษาคอมพิวเตอร์

การดูแลรักษาคอมพิวเตอร์ จะแบ่งออกเป็นหลักๆ ได้ 3 อย่าง
          1. การดูแลรักษาคอมพิวเตอร์ ทางด้าน Hardware (ฮาร์ดแวร์) อุปกรณ์ต่างๆ ภายใน และภายนอกคอมพิวเตอร์
          - เรื่องความสะอาด เป็นสิ่งจำเป็นมากสำหรับ การดูแลรักษาคอมพิวเตอร์ ยกตัวอย่าง หากไม่ทำความสะอาดเลยจนมีฝุ่นไปติดตามที่ระบายอากาศของคอมพิวเตอร์ จะทำให้การระบายความร้อนไม่ได้ เป็นสาเหตุให้คอมพิวเตอร์ร้อน และเกิดอาการเครื่องค้าง หรือแฮงค์ หรือจะเป็นเรื่องปุ่มคีย์บอร์ด หากไม่ทำความสะอาดเลยเป็นสัปดาห์ หรือเป็นเดือน บริเวณปุ่มกดจะสกปรกมาก ๆ ซึ่งเมืองนอกวิจัยกันมาแล้วว่า สกปรกพอ ๆ กับห้องน้ำ เลยทีเดียว ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพแน่นอน


          - ที่ตั้งของคอมพิวเตอร์ ที่เราไปวางไว้เป็นมุมอับ การระบายความร้อนจะไม่ดีเท่าที่ควร แนะนำ อย่าวางใกล้ชิดติดกำแพง หรือไปวางในมุมอับ ควรเป็นมุมที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก จะดีที่สุด ถ้าไม่มีมุมที่ตั้งจริงๆ ก็เอาพัดลมเป่าช่วยก็ได้


          2. การดูแลรักษาคอมพิวเตอร์ ทางด้าน Software (ซอฟต์แวร์) โปรแกรมที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เรื่องการดูแลรักษา Software  มีโอกาสเจอได้หลายรูปแบบ มีข้อระมัดระวัง คือ
          - การลงโปรแกรม  ลงเฉพาะที่เราใช้ การลงโปรแกรมมากไปจะทำให้เครื่องอืด หรือช้า จนถึงอาการที่เรียกว่า แฮงค์


          - การเก็บข้อมูล ข้อมูล เอกสาร ไฟล์ต่างๆ ที่เราจะเก็บไว้ แนะนำอย่าไปเก็บใน Drive C: ควรเก็บไว้ Drive อื่นแทน ส่วนมาก Drive C ควรลงเฉพาะโปรแกรม ไม่ควรเก็บไฟล์งานที่สำคัญ หรือพวกหนังเพลงเอาไว้ เนื่องจากส่วนมากเวลามีปัญหาจะเกิดกับ Drive C เป็นหลัก อีกอย่างเมื่อต้องการล้างเครื่องลงโปรแกรมใหม่ ก็สามารถลบ Drive C แล้วลงใหม่ได้ Windows หรือระบบปฏิบัติการใหม่ได้เลย ไม่จำเป็นต้องเสียเวลาย้ายข้อมูลไปไว้ Drive อื่น

          - การเข้า Web ผู้ใหญ่ เช่น เว็บโป๊ ส่วนมากเว็บแนวนี้เป็นช่องทางที่ดีเลยครับสำหรับ พวก Hacker เพราะสามารถฝังไวรัส หรือ สปายแวร์ ไว้กับเครื่องผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บดังกล่าว ส่วนมากจะมีกิจกรรมให้ทำหน้าเว็บ เช่น เชิญคลิก อะไรประมาณนี้ เมื่อเราคลิกแล้วก็จะติดตั้งไวรัส หรือ สปายแวร์ ลงเครื่องผู้ใช้ ทางที่ดีควรหลีกเลี่ยงเว็บเหล่านี้ หากเลี่ยงไม่ได้เมื่อเข้าไปแล้ว ก็พยายามอย่าคลิกอะไรมั่ว ๆ นะ
          - ติดโปรแกรมพวกป้องกัน ป้องกันไวรัส ป้องกันสปายแวร์ และหมั่น Update โปรแกรมพวกนี้อยู่เสมอ จะช่วยได้ระดับหนึ่งเลย        
          - การดูแล และ บำรุงรักษาระบบ ขั้นพื้นฐาน สิ่งที่ทำก็คือ Disk Cleanup ( เก็บกวาดขยะบนฮาร์ดดิส ), Check disk ( ตรวจสอบสภาพฮาร์ดดิส ) และ Disk Defragmenter ( จัดเรียงข้อมูลเพื่อเร่งความเร็ว)

          3. การดูแลรักษาคอมพิวเตอร์ทางด้าน Peopleware (พีเพิลแวร์) บุคคลที่ใช้งาน คอมพิวเตอร์
          - ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานช้า เวลาสั่งคอมพิวเตอร์ให้ทำอะไร ควรรอคอมพิวเตอร์ประมวลผลให้เสร็จก่อนที่จะทำการเปิดโปรแกรมอื่น ๆ เพราะถ้าเราเปิดโปรแกรมอื่น ๆ เพิ่มขึ้นมาอีกจะทำให้คอมพิวเตอร์แฮงค์ หรือค้างได้



สาเหตุที่ทำให้PCเกิดความเสียหาย

1.ความร้อน
          ความร้อนที่เป็นสาเหตุทำให้คอมพิวเตอร์มีปัญหา ส่วนใหญ่เกิดจากความร้อนของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์บนเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์ เองวิธีแก้ปัญหา คือ จะต้องรีบระบายความร้อนที่เกิดจากอุปกรณ์ต่างๆ ออกไปให้เร็วที่สุด

วิธีแก้ปัญหา
- พัดลมระบายความร้อนทุกตัวในระบบ ต้องอยู่ในสภาพดี 100 เปอร์เซนต์ อุณหภูมิที่เหมาะสมที่สุดควรจะอยู่ระหว่าง 60-70 องศาฟาเรนไฮต์
- ใช้เพาเวอร์ซัพพลาย ในขนาดที่ถูกต้อง
- ใช้งานเครื่องในย่านอุณหภูมิที่ปลอดภัย อย่าตั้งอยู่ในบริเวณที่มีแสงแดดส่องถึงเป็นเวลานานๆ


2.ฝุ่นผง
          เป็นที่ทราบกันดีว่าในอากาศมีฝุ่นผงกระจัดกระจายอยู่ใน ทุกๆ ที่ ฝุ่นผงที่เกาะติดอยู่บนแผงวงจรของคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่เสมือนฉนวนป้องกันความร้อน ทำให้ความร้อนที่เกิดขึ้นในระบบ ไม่สามารถระบายออกสู่สภาพแวดล้อมภายนอก นอกจากนี้อาจไปอุดตันช่องระบายอากาศของเพาเวอร์ซัพพลายหรือฮาร์ดดิสค์ หรืออาจเข้าไปอยู่ระหว่างแผ่นดิสค์กับหัวอ่าน ทำให้แผ่นดิสค์หรือหัวอ่านเกิดความเสียหายได้
วิธีแก้ไข
- ควรทำความสะอาดภายในเครื่องทุก เดือน หรือทุกครั้งที่ถอดฝาครอบ
- ตัวถัง หรือ ชิ้นส่วนภายนอกอาจใช้สเปรย์ทำความสะอาด
- วงจรภายในให้ใช้ลมเป่าและใช้แปรงขนอ่อนๆ ปัดฝุ่นออก
- อย่าสูบบุหรี่ใกล้เครื่องคอมพิวเตอร์


3.สนามแม่เหล็ก
          แม่เหล็กสามารถทำให้ข้อมูลในแผ่นดิสก์หรือฮาร์ดดิสก็สูญ หายได้อย่างถาวร แหล่งที่ให้กำเนิดสนามแม่เหล็กในสำนักงานมีอยู่มากมาหลายประเภท อาทิเช่น
แม่เหล็กติดกระดาษบันทึกบนตู้เก็บแฟ้ม
คลิปแขวนกระดาษแบบแม่เหล็ก
ไขควงหัวแม่เหล็ก
ลำโพง
มอเตอร์ในพรินเตอร์
- UPS
วิธีแก้ไข
ควรโยกย้ายอุปกรณ์ที่มีกำลังแม่เหล็กมากๆ ให้ห่างจากระบบคอมพิวเตอร์


4.สัญญาณรบกวนในสายไฟฟ้า
สัญญาณรบกวนในสายไฟฟ้ามีหลายลักษณะ อาทิเช่น แรงดันเกิน แรงดันตก ทรานเชียนต์ ไฟกระเพื่อม
แรงดันเกิน ในกรณีที่เครื่องของท่านได้รับแรงดันไฟฟ้าเกินจากปกติ เป็นเวลานานกว่า วินาที จะมีผลทำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ภายในเครื่องเกิดความเสียหายได้
แรงดันตก ใน กรณีที่มีการใช้ไฟฟ้ากันมากเกินความสามารถในการจ่ายพลังงานไฟฟ้า จะมีผลทำให้เกิดเหตุการณ์ไฟตกได้ ไฟตกอาจทำให้การทำงานของเพาเวอร์ซัพพลายผิดพลาดได้ เนื่องจากเพาเวอร์ซัพพลายพยายามจ่ายพลังงานให้กับวงจรอย่างสม่ำเสมอ โดยไปเพิ่มกระแส แต่การเพิ่มกระแสทำให้ตัวนำ เพาเวอร์ซัพพลายและอุปกรณ์ต่างๆ ร้อนขึ้น ซึ่งมีผลทำให้อุปกรณ์ต่างๆ เกิดความเสียหายได้ 
ทรานเชียนต์ การที่ไฟฟ้ามีแรงดันสุง (sags) หรือต่ำกว่าปกติ (surge) ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ทรานเชียนต์ที่เกิดในบางครั้งจะมีความถี่สูงมาก จนกระทั่งสามารถเคลื่อนที่ผ่านตัวเก็บประจุไฟฟ้าในเพาเวอร์ซัพพลาย เข้าไปทำความเสียหายให้แก่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้
ไฟกระเพื่อม ทุกครั้งที่ท่านเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้า จะทำให้กำลังไฟเกิดการกระเพื่อม เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องการกระแสไฟฟ้ามากๆ ก็จะทำให้ความแรงของการกระเพื่อมมีค่ามากตามไปด้วย จากการศึกษาพบว่า การเปิดใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละครั้งจะทำให้เกิดการกระเพื่อม- ครั้ง ภายในเสี้ยววินาที การกระเพื่อมจะมีผลต่อทุกๆ ส่วนภายในตัวเครื่อง รวมทั้งหัวอ่านข้อมูลของฮาร์ดดิสค์ด้วย
วิธีแก้ไข
ในกรณีไฟเกิน ไฟตก และทรานเชียนต์ แก้ไขได้โดยการใช้เครื่องควบคุมกระแสไฟฟ้า หรือ ที่เรียกว่า Stabilizer
ส่วนไปกระเพื่อม แก้ได้โดยการลดจำนวนครั้งในการปิดเปิดเครื่อง


5.ไฟฟ้าสถิต
ไฟฟ้าสถิตสามารถเกิดขึ้นได้ทุกฤดูกาล แต่ในสภาวะที่อากาศแห้ง จะส่งผลให้ความเป็นฉนวนไฟฟ้าสูง ประจุของไฟฟ้าสถิตจะสะสมอยู่เป็นจำนวนมาก และหาทางวิ่งผ่านตัวนำไปยังบริเวณที่มีศักย์ไฟฟ้าต่ำกว่า ดังนั้นเมื่อท่านไปจับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ประจุของไฟฟ้าสถิตจากตัวท่านจะวิ่งไปยังอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เหล่านั้น ทำให้อุปกรณ์เกิดความเสียหายได้ แต่ในสภาวะที่มีความชื้นสูง ไฟฟ้าสถิตที่เกิดขึ้นจะรั่วไหลหายไปในระยะเวลาอันสั้น
วิธีแก้ไข
ควรทำการคายประจุไฟฟ้าสถิตด้วยการจับต้องโลหะอื่นที่ไม่ใช้ตัวถังเครื่องคอมพิวเตอร์ ก่อนจะสัมผัสอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบคอมพิวเตอร์


6.น้ำและสนิม
น้ำและสนิมเป็นศัตรูตัวร้ายของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุก ชนิด สนิมที่พบในเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์ มักจะเกิดจากการรั่วซึมของแบตเตอรี่บนเมนบอร์ด ซึ่งถ้าเกิดปัญหานี้ขึ้น นั่นหมายความว่าท่านจะต้องควักกระเป๋าซื้อเมนบอร์ดตัวใหม่มาทดแทนตัวเก่าที่ ต้องทิ้งลงถังขยะสถานเดียว
วิธีแก้ไข
หลีกเลี่ยงการนำของเหลวทุกชนิดมาวางบนโต๊ะคอมพิวเตอร์ของท่าน

กรณีการรั่วซึมของแบตเตอรี่ แก้ไขได้โดยการเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่ เมื่อเครื่องของท่านมีอายุการใช้งานได้ประมาณ 1-2 ปี เป็นต้นไป

การดูแลรักษาซีพียู (CPU)

ซีพียู (CPU: Central Processing Unit) หรือหน่วยประมวลผล นับเป็นหัวใจของคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่ประมวลผลต่าง ๆ ตามที่โปรแกรมไว้ โดยปกติซีพียูเป็นอุปกรณ์/ชิ้นส่วนที่เสียหายยากมากจากการใช้งานปกติ ซึ่งซีพียูอาจจะทำงานได้นานมากจนเราเลิกใช้เครื่องไปเลย แต่ถ้าเราโชคร้ายโดยถูกผู้ผลิตนำซีพียูทีมีความเร็วต่ำมาหลอกขายว่าเป็นซีพี ยูความเร็วสูง (CPU Remark) หรือทำการ PUSH ให้ซีพียูทำงานเร็วกว่าความเร็วที่กำหนดให้ ทำให้อายุการใช้งานของซีพียูสั้นลงกว่าปกติ อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้อายุการใช้งานซีพียูสั้นลงก็คือ พัดลมระบายอากาศ (Ventilation Fan) ที่ติดตั้งอยู่ที่ชุดจ่ายไฟฟ้า (Power Supply) ของคอมพิวเตอร์เสีย ทำให้ซีพียูต้องทำงานที่ความร้อนสูงตลอดเวลา ถ้าซีพียูเสียก็ต้องซื้อใหม่อย่างเดียว ไม่สามารถทำการซ่อมหรือแก้ไขได้

การดูแลรักษาซีพียู จึงต้องทำให้พัดลมระบายอากาศ และชุดจ่ายไฟฟ้ามีการทำงานที่ปกติอยู่เสมอ การตรวจเช็คอุปกรณ์ดังกล่าวทำได้ง่าย ๆ โดยการสังเกตว่า มีการทำงานปกติหรือไม่ มีเสียงผิดปกติขณะทำงานหรือไม่ โดยอุปกรณ์ทั้งสองสามารถเสื่อมลงได้ตามระยะเวลาใช้งาน โดยทั่วไปหากซีพียูต้องทำงานในอุณหภูมิที่ร้อนมาก ซีพียูจะหยุดทำงานเพื่อป้องกันความเสียหาย อาจทำให้เกิดอาการเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้ไปซักครู่ แล้วดับไปเองบ่อย ๆ (สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากไวรัสคอมพิวเตอร์ หรือซีพียูร้อนจนเกินไป)

การดูแลรักษา Mainboard

เป็นอุปกรณ์ที่มีชิปควบคุมการทำงาน รวมถึงเป็นตัวรับและจ่ายไฟให้กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆบนเมนบอร์ดและอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ปัญหาของเมนบอร์ดเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุด้วยเช่นกัน เช่น ไฟตก ไฟเกิน หรือฟ้าผ่าจนมีการช็อตเข้าไปในเครื่อง แน่นอนว่าชิ้นส่วนแรกที่จะได้รับผลกระทบเหล่านี้ไปเต็มๆ ก็คือตัวMainboard ซึ่งความเสียหายที่เกิดขึ้นดังกล่าวส่วนใหญ่สามารถตรวจสอบได้จากรอยไหม้บนส่วนต่างๆของเมนบอร์ด
เมื่อต้องการถอดเมนบอร์ดออกจากเคส พยายามถอดออกอย่างระมัดระวัง และควรปัดฝุ่นให้สะอาดควบคู่กันไปด้วยเลยยิ่งดี (เพราะไหนๆก็ต้องถอดออกมาอยู่แล้ว) ด้วยการใช้แปรงนุ่มๆ ค่อยๆปัดฝุ่นที่เกาะอยู่ และใช้ที่เป่าลมไล่พ่นไปตามซอกเล็กซอกน้อย ที่หัวแปรงเข้าไม่ถึง โดยระวังอย่าให้เมนบอร์ดโดนน้ำหรือตกหล่นได้ เพราะจะทำให้อุปกรณ์ชิ้นเล็กชิ้นน้อยบนเมนบอร์ดเกิดชำรุดหรือหล่นหายเป็นเหตุให้ใช้งาน ไม่ได้อีกต่อไป

เมื่อตรวจสอบความเรียบร้อย พร้อมกับทำความสะอาดเสร็จแล้ว ในเวลาประกอบคืนเข้ากับเคส ควรระวังเป็นพิเศษ เริ่มต้นจากการตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆ ของเมนบอร์ดให้ครบทุกอย่างแล้ว จึงประกอบคืนให้เข้าที่อย่างเบามือ การติดตั้งที่ไม่ถูกต้องมีส่วนสร้างความเสียหายได้ อย่างเช่น การออกแรงมากเกินไปเวลาขันน็อตหกเหลี่ยมลงไปในตัวเมนบอร์ด อาจทำให้มีการบิดงอหรือหัก จนถึงขั้นทำให้มีรอยขูดขีดบนแผงวงจรเมนบอร์ดอีกด้วย นอกจากนี้ความเสียหายบางส่วน อาจเกิดขึ้นจากการไม่ได้ดูแลความสะอาดในCase ปล่อยให้มีรอบคราบสนิมเกิดขึ้น ดังนั้นทางที่ดีควรไล่สายตาตรวจสอบค้นหาร่องรอยเหล่านี้ทุกครั้งเมื่อต้องเปิดฝาเคส

การดูแลรักษา RAM

แรม ย่อมาจาก Random Access Memory  ศัตรูตัวฉกาจของแรมก็คงจะหนีไม่พ้นพวกฝุ่นละออง และความชื้นที่สะสมภายในเคส ซึ่งเป็นต้นเหตุหลักที่ทำให้เกิดคราบสนิม และคราบอ็อกซายด์ที่ไม่พึงประสงค์บนตัวแรม นอกจากนี้การติดตั้งลงบนเมนบอร์ด(Main Board) ที่ไม่ถูกต้อง ต่อลงสล็อตไม่สนิทจนทำให้เกิดร่องรายการขูดลอก หรือการทำโอเวอร์คล็อก (OverClock) เพื่อเพิ่มความเร็วอาจจะเป็นอันตรายถึงขั้นทำให้แรมเกิดการไหม้ได้ ส่วนใครที่รู้ตัวว่าไฟฟ้าที่ใช้งานในอาคารมีปัญหาอยู่บ่อยๆ เช่น เกิดไฟดับติดต่อกันเป็นประจำ ต้องระวังให้ดีเพราะเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้แรมเสียได้ ดังนั้นทางป้องกันก็ต้องมี UPS ติดเอาไว้จะเป็นการดี

อันที่จริงแล้วหากไม่รู้สึกว่าแรมน่าจะมีการผิดปกติแล้วก็ ไม่ควรจะไปถอดมันเข้าออกอยู่บ่อยๆ เพราะมีสิทธิ์ที่สล็อตใส่แรมบนเมนบอร์ดจะหลวมได้ แต่สำหรับการดูแลรักษาตามปกติ อย่างน้อยๆ ปีนึงควรถอดมันออกมาเป่าฝุ่นผงที่เกาะติดอยู่บนตัวแรมเสียบ้าง และตรงส่วน PIN ของมัน หากพบว่ามีคราบสกปรกหรือสนิมเกาะติดอยู่ละก็ ให้เอา ก้อนยางลบสะอาดๆมาถูเบาๆ ช้าๆ บริเวณที่สกปรกจะช่วยให้อาการส่งข้อมูลติดขัดน้อยลงได้ แต่หากไม่มีคราบอะไรก็ไม่ต้องเอายางลบไปถูเล่นจะดีกว่า

การดูแลรักษา Hard Disk

ปัญหาฮาร์ดดิสก์พังเป็นเหมือนฝันร้ายของผู้ใช้คอมพิวเตอร์เลยที่เดียว เพราะนอกจากจะต้องเสียเงินซื้อฮาร์ดดิสก์ตัวใหม่แล้วที่สำคัญกว่าคือ "ข้อมูลสำคัญต่างๆ" อาจมลายหายตามไปด้วย ถ้าไม่ได้ทำการสำรองเก็บไว้ในสื่ออื่นๆ สำหรับสาเหตุที่ทำให้เจ้าฮาร์ดดิสก์สุดรักพังนั้นมีหลายๆ สาเหตุด้วยกันซึ่งพอจะสรุปเป็นข้อได้ดังนี้
สาเหตุที่ทำให้ฮาร์ดดิสก์เสีย ก่อนอื่น เรามาดูกันดีกว่าว่าสาเหตุใด ทำไมฮาร์ดดิสก์จึงเสีย ซึ่งมีหลายๆ สาเหตุด้วยกัน ดังนี้
1. เกิดจากตัวฮาร์ดดิสก์เอง ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากขั้นตอนการผลิต กรณีนี้จะเกิดกับคนที่มีโชคในการซื้อของ เพราะจะได้ใช้ใช้สิทธิ์การประกันสินค้า
2. ฮาร์ดดิสก์หมดอายุใช้งาน พบในกรณีที่ฮาร์ดดิส์ที่มีอายุการใช้งานมานานเกิน 3 ปีขึ้นไป
3. เกิดการหมดสภาพใช้งาน เนื่องจากมีการใช้งานหนักจนระบบกลไกหมดสภาพใช้งาน
4. เกิดจากอุบัติเหตุ เช่น เสียเนื่องจากเกิดปัญหาไฟฟ้ากระชาก เป็นต้น
5. ฮาร์ดดิกส์ถูกขโมย (จะถูกขโมยไปพร้อมเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือขโมยเฉพาะฮาร์ดดิสก์อย่างเดียวก็ได้)
6. เกิดจาก "ยูสเซอร์" เองนั้นแหละ ที่ใช้งานไม่ถูกต้อง เช่น เครื่องยังชัทดาวน์ไม่เสร็จก็ถอดปลั๊ก หรือใช้การชัทด่วนแทนการชัทดาวน์บ่อยๆ
วิธีการป้องกันปัญหา สำหรับวิธีการป้องกันปัญหา ทั้ง 6 ข้อที่กล่าวมานั้น มีดังนี้
- กรณีที่ 1 นั้น การป้องกันในระดับยูสเซอร์เองนั้นอาจทำได้ยาก เนื่องจากเราไม่สามารถทราบได้ว่าฮาร์ดดิสก์นั้น ถูกผลิตมาอย่างไร มีคุณภาพแค่ไหน
- กรณีที่ 2-3 นั้น การป้องกันทำได้ง่ายมาก คือทำการเปลี่ยนฮาร์ดดิสก์ตัวใหม่แทนตัวเก่า แต่ที่ยากคือจะเอาเงินมากจากไหน
- กรณีที่ 4 นั้นอาจใช้วิธีการต่อผ่าน UPS อาจช่วยได้ในกรณีที่ใช้งาน UPS ที่มีคุณภาพ UPS ประเภทแถมมาพร้อมซื้อเครื่อง
- กรณีที่ 5 นั้น การป้องกันขึ้นอยู่กับว่าหากเป็นเครื่องในที่ทำงานเจ้าหน้าที่ รปภ. ก็รับหน้าที่ไป แต่ในกรณีเครื่องส่วนตัวก็ต้องระมัดระวังเอาเอง
- กรณีที่ 6 นั้น เกิดจาก "ยูสเซอร์" หากต้องการให้ฮาร์ดดิสก์มีอายุการใช้งานนานๆ ก็ต้องเลิกนิสัยไม่ดี อย่างเช่น ใช้การชัทด่วนแทนการชัทดาวน์บ่อยๆ เป็นกิจวัตร ฮาร์ดดิสก์จะเสีย
วิธีการดูแลบำรุงรักษา
เรามาดูวิธีการดูแลบำรุงรักษา เนื่องจากฮาร์ดดิสก์นั้นสำคัญการเรามาก โดยวิธีการดูแลรักษาฮาร์ดดิสก์โดยทั่วไปนั้น จะมีสองขั้นตอนหลักๆ ดังนี้
1. ทำการ Check Disk เป็นประจำข้อนี้จะเป็นข้อแนะนำแรกๆ เสมอ เมื่อพูดถึงการการดูแลรักษาฮาร์ดดิสก์ ซึ่งมีโปรแกรมสำหรับทำ Check Disk ให้มาพร้อมกับวินโดวส์อยู่แล้ว และวิธีการทำก็ง่ายโดยการเปิด My Computer แล้วคลิกขวาที่ Hard Disk ที่ต้องการ คลิก Propeties จากนั้นคลิก Tools แล้วคลิก Check Now เท่านี้ก็เรียบร้อย อาจเลือกอ็อปชันอื่นๆ ตามความต้องการ ทั้งนี้หาก Hard Disk ที่ต้องการทำการ Check นั้นเป็นพาร์ติชันที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการอยู่ ก็จะแสดง Message แจ้งให้ทำการ Check ในตอนการสตาร์ทเครื่อง หากทำเป็นประจำก็ช่วยให้ฮาร์ดดิสมีสุขภาพแข็งแรง และอายุการใช้งานยาวนานขึ้น 


2. ทำการ Defragment สม่ำเสมออาจจะไม่ได้ช่วยให้ฮาร์ดดิสก์ มีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น หรือเสียยากขึ้นโดยตรง แต่จะช่วยให้การทำงานของกลไกต่างๆ ทำงานน้อยลง การสึกหรอน้อยลง ทำให้อายุการใช้งานนานขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากการจัดเก็บข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์นั้น โดยทั่วไปจะจัดเก็บแบบสุ่ม นั้นคือ ไฟล์เดียวกันอาจจะจัดเก็บอยู่คนละที่กัน ซึ่งทำให้การแอคเซสไฟล์นั้น ทำได้ช้ากว่าการที่ไฟล์เก็บอยู่ในบริเวณพื้นที่เดียวกัน เนื่องจากหัวอ่านอาจต้องย้อนกลับไปกลับมา นอกจากนี้การ Defrag ยั้งช่วยให้การทำงานเร็วขึ้น ซึ่งมีโปรแกรมสำหรับทำ Defragment ให้มาพร้อมกับวินโดวส์อยู่แล้ว และวิธีการทำก็ง่ายโดยการเปิด My Computer แล้วคลิกขวาที่ Hard Disk ที่ต้องการ คลิก Propeties จากนั้นคลิก Tools แล้วคลิก Defragment Now จากนั้นเลือก Hard Disk ตัวที่ต้องการ หากไม่อยากใช้โปรแกรมของวินโดวส์ ก็สามารถใช้โปรแกรมฟรีที่ชื่อ Power Defragmenter ก็ได้ อ่านรายละเอียดวิธีใช้ได้ที่เว็บไซต์ Power Defragmenter 

การดูแลรักษาการ์ดจอ DISPLAY CARD

สาเหตุหลักที่สร้างความเสียหายแก่การ์ดจอ มากที่สุดนอกจากการโหมเล่นเกมแบบข้ามวันข้ามคืน จนการ์ดจอเกิดความร้านสูง (ในกรณีที่ระบบระบายความร้อนไม่ดี) ก็คือการทำโอเวอร์คล็อก (OverClock) เพิ่มความเร็วการ์ดจอให้สูงกว่าที่โรงงานตั้งมา การทำงานที่หนักมาขึ้นอาจทำให้ชิพประมวลผลบางตัวไหม้ได้
โดยทั่วไปแล้วเราจะรู้สึกว่าการ์ดจอเริ่มมีปัญหาก็ต่อเมื่อเปิดจอมอนิเตอร์แล้วภาพไม่ขึ้น เล่นเกมแล้วภาพกราฟฟิกกระตุก แตก หรือค้าง ในกรณีที่ภาพไม่ขึ้นน่าจะเกิดจากตัวการ์ดหลุด หรือเสียบเข้าในสล็อตไม่แน่น ทางที่ดีลองเปิดฝาเคสออกแล้วถอดออกมาตรวจสอบสักนิดว่าตรงส่วน Pin (ขาเสียบ) มีคราบสกปรกจำพวกคราบสนิม และคราบอ๊อกซายด์ติดอยู่หรือเปล่า หากมีให้ใช้ยางลบสะอาดๆ ถูออกเบาๆ (วิธีนี้นำไปใช้กับการ์ดและอุปกรณ์อื่นๆ ที่มี Pin ได้หมดเลยนะครับ) นอกจากนั้นตามตัวการ์ดและพัดลม ให้ใช้แปรงขนนุ่มๆ ปัดฝุ่นออก เรียบร้อยแล้วให้ใส่กลับคืนสล็อตให้ลงล็อกพร้อมขันน็อตให้แน่นๆ 

การ์ดจอพัง ภาพแตกส่วนการที่เล่นเกมแล้วเกิดอาการกระตุก ค้าง หรือภาพแตก เป็นไปได้สูงว่าเกิดจากประสิทธิภาพของการ์ดจอนั้นอาจไม่เหมาะสมกับเกมที่เล่นอยู่ หรือเป็นเพราะ CPU Ram ไม่ แรงพอก็เป็นได้ สำหรับอาการภาพค้าง ถ้าเป็นกับเกมลายๆเกม ให้ลองตรวจสอบดูก่อนครับว่าพัดลมที่ติดอยู่บนการ์ดจอเสียหรือทำงานผิดปกติ (ความเร็วรอบตก) หรือไม่ เพราะถ้าการ์ดจอไม่สามารถระบายความร้อนบนชิพกราฟิกได้ทัน อาจทำให้เกิดอาการภาพแตกค้างได้เช่นกัน แต่ถ้าตรวจสอบแล้วไม่พบสิ่งผิดปกติ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนครับว่าตัวชิพกราฟิกน่าจะเกิดความเสียหายซึ่งถ้าเป็นแบบ นั้นอาจจะต้องซื้อการ์ดจอใหม่หากไม่รีบก็นำไปเคลมประกันหรือส่งซ่อม

การดูแลรักษาเคส (Case)

การเลือกสถานที่วางเคสคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดหนึ่ง เมื่อเปิดเครื่องทำงานจะเกิดความร้อนขึ้น ดังนั้นที่วางคอมพิวเตอร์ควรคำนึงการระบายความร้อนด้วย ทำเลที่ตั้ง,แสง เป็นต้น
 - ควรวางไว้ห่างจากพนังห้องประมาณ 30 Cm เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก
 - ไม่ควรวางใกล้แอร์ เพราะการทำงานของแอร์ จะมีสนามแม่เหล็กออกมาด้วย
 - ไม่ควรวางไว้ในที่ ที่มีน้ำสาดถึง เช่น หน้าต่าง ไม่ควรวางในที่ ที่มีฝุ่นละอองมาก
 - ไม่ควรวางไว้ใกล้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีความถี่สูง เช่น โทรศัพท์มือถือ , มอเตอร์ไฟฟ้า เป็นต้นไม่ควรวางไว้ในที่ๆ มีแสงแดดจัด เพราะจะทำให้เกิดความร้อนจากแดดขึ้น

การดูแลรักษาเคส นั้นก็เป็นเรื่องที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่ง  ปัญหาก็คือการเกิดไฟรั่วตามเคส ที่เป็นรอยต่างๆ เมื่อไปโดนจะรู้สึกจิ๊ด ๆ แต่ไม่เป็นอันตรายมากนักเพราะ กระแสไฟฟ้าหลังจากที่ ผ่าน power supply มาแล้วจะเหลือไฟประมาณ  8 v.   หลังจากใช้เครื่องเสร็จควรใช้ผ้าคลุม Case คลุม เพื่อป้องกันฝุ่นละอองเข้าไปในเครื่อง

พัดลมระบายความร้อน เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญของคอมพิวเตอร์ เนื่องจากการทำงานของวงจรภายในคอมพิวเตอร์จะเกิดความร้อนจำนวนมาก ระบบระบายความร้อนหลักของคอมพิวเตอร์จะใช้พัดลมระบายความร้อนเป็นหลัก เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ประกอบภายในประเทศ มักจะใช้พัดลมระบายความร้อนที่มีราคาถูก และจะพบว่าส่วนใหญ่พัดลมจะเสียภายในเวลาไม่กี่เดือนเท่านั้น มีอยู่น้อยมากที่จะผ่านปีแรกไปได้โดยไม่เสีย พัดลมระบายความร้อนที่ใช้งานได้ดี ก็คงเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นเพนเทียมรุ่นที่มีพัดลมติดมาด้วย การเลือกใช้พัดลมระบายความร้อนต้องพยายามใช้ของดีมียี่ห้อ เพราะถ้าพัดลมระบายความร้อนเสีย จะทำให้ซีพียูร้อนจัด ทำให้เครื่องเกิดอาการแฮงก์ (Hang) โดยไม่ทราบสาเหตุ และทำให้อายุการใช้งานของซีพียูสั้นลง ถ้าพัดลมระบายความร้อนเสียต้องเปลี่ยนอย่างเดียว

การติดพัดลมระบายความร้อนควรติดให้พอเพียงและเหมาะสมต่อการระบายความร้อนจากเครื่องคอมพิวเตอร์ ทั้งขนาด ความเร็วรอบ และจำนวนพัดลม เพื่อให้สามารถระบายความร้อนได้ดี ช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องคอมพิวเตอร์ การรักษาความสะอาดพัดลมโดยการปัดด้วยแปรง หรือที่เป่าฝุ่นจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพัดลมระบายความร้อน

การดูแลรักษา Power Supply

Power Supply นั้นถือว่าเป็นส่วนที่เริ่มต้นทั้งหมดของชุุดจ่ายไฟ ให้กับ เครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งปัจจุบัน Power Supply นั้นเป็นวงจรแบบ Switching ข้อดีของ วงจรแบบนี้คือ ไฟที่ได้มีลักษณะที่เรียบ และ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับแหล่งจ่ายไฟที่ให้กับ Power Supply อีกที่แต่ข้อดีอีกอย่างหนึ่งของ Power ในลักษณะนี้นั้นหากมีไฟฟ้า กระชากเข้ามามากๆ ตัว Power นั้นจะเสียก่อน ซึ่งถือว่าเป็นการป้องกันไฟที่ดีให้กับตัวเมนบอร์ดไม่ให้เสียหาย เนื่องจากมีราคาค่อนข้างแพงกว่า Power Supply มากรวม ไปถึงอุปกรณ์ตัวอื่นๆดังนั้นการดูแลรักษาอุปกรณ์นี้จึงเป็นสิ่งที่มีความจำ เป็นอย่างยิ่งเพื่อให้เราสามารถที่จะใช้งานได้ยาวนานขึ้น
ข้อแนะนำในการเลือกซื้อและใช้ Power Supply โหลดของ Power Supply
    - Mainboard
    - HDD
    - VGA
    - CD Rom
    - พัดลมระบายความร้อน
    - ไฟแสดงสถานะต่างๆภายในเครื่อง
1. ต่อโหลดให้เหมาะสมกับ Power Supply ที่ใช้ โหลดคืออุปกรณ์ที่ต่อไฟจาก Power Supply ยกตัวอย่างเช่น Powerขนาด450 W ที่มีขายตามแหล่งสินค้าไอที ต่อเข้ากับ พัดลมขนาดใหญ่ 12" 2 ตัว 8" 3ต้ว อย่างนี้ก็ถือว่ามากเกินไปจะทำให้ Powerเสีย ได้บ่อยๆ
2. เลือกกำลังวัตต์ให้เหมาะกับงานที่ใช้ เช่น ถ้าใช้ตามบ้านทั่วไปก็ 450W แต่ควรต่อโหลดให้เหมาะสม แต่ถ้าหากใช้งานที่
มากขึ้น คือต้องเปิดในระยะเวลานาน หรือ มีการต่อโหลดเพิ่มไปจากพัดลมระบายความร้อนเช่น VGA ที่ใช้กำลังไฟมากๆ ก็อาจจะต้อง
เลือก Power Supply ที่มีคุณภาพให้เหมาะกับการใช้งาน
3. ควรทำความสะอาดตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ และ Power Supply เพื่อเป็นการยืดอายุอุปกรณ์ด้วย

การดูแลรักษาจอภาพ (Monitor)

จอภาพ (Monitor) จอภาพโดยทั่วไปมักจะมีอายุการใช้งานประมาณส่วนใหญ่ ประมาณ 1-3 ปี เนื่องจากหลอดภาพของแต่ละรุ่นยี่ห้อนั้น จะมีคุณภาพแตกต่างกันไปตาม แต่ละบริษัทผู้ผลิต ไม่ควรตั้งจอไว้ใกล้บริเวณที่มีสนามแม่เหล็กมากจนเกินไป และไม่ควรเช็ดหน้าจอด้วยน้ำยาหรือสารอย่างอื่น ๆ ที่ไม่ได้ระบุไว้สำหรับทำความสะอาดจอภาพนั้น ๆ

การดูแลรักษาควรปฏิบัติดังนี้
- อย่าให้วัตถุหรือน้ำไปกระทบหน้าจอคอมพิวเตอร์
- ควรเปิดไฟที่จอก่อนที่สวิซไฟที่ CPU เพื่อ boot เครื่อง
- ไม่ควรปิด ๆ เปิด ๆ เครื่องติด ๆ กัน เมื่อปิดเครื่องแล้วทิ้งระยะไว้เล็กน้อยก่อนเปิดใหม่
- ควรปรับความสว่างของจอภาพให้เหมาะสมกับสภาพของห้องทำงาน เพราะถ้าสว่างมากเกินไปย่อมทำให้จอภาพอายุสั้นลง
- อย่าเปิดฝาหลัง Monitor ซ่อมเอง เพราะจะเป็นอันตรายจากกระแสไฟฟ้าแรงสูง
- เมื่อมีการเปิดจอภาพทิ้งไว้นาน ๆ ควรจะมีการเรียกโปรแกมถนอมจอภาพ (Screen Sever) ขึ้นมาทำงานเพื่อยืดอายุการใช้งานของจอภาพ

การดูแลรักษาเม้าส์ (Mouse)

เมาส์ (Mouse) เป็นอุปกรณ์ Input ที่ใช้สำหรับป้อนข้อมูลคำสั่งเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ ภายในเมาส์ จะประกอบไปด้วยลูกกลิ้งและฟันเฟือง ซึ่งสามารถถอดออกมาและทำความสะอาด เนื่องจากลูกกลิ้งจะสะสมเอาสิ่งสกปรกต่าง ๆ ไว้ภายในเมาส์ ทำให้ลูกกลิ้งไม่สามารถที่จะเคลื่อนที่ไปได้โดยอิสระ

วิธีทำความสะอาดให้บิดช่องข้างล่างของเมาส์บริเวณที่เป็นลูกกลิ้ง พอถอดออกแล้วก็นำลูกกลิ้งข้างในออกมา และเราจะเห็นแกนอยู่ 2 แกนที่สามารถหมุนได้และแกนวงกลม ที่สามารถหมุนได้เช่นกัน ใช้เล็บหรือไขควงก็ได้แล้วแต่ถนัด ขูดพวกฝุ่นที่เกาะกันเป็นก้อนออกมา เท่านี้เมาส์ของคุณก็จะไหลรวดเร็วดังใจนึก

สำหรับอุปกรณ์เม้าส์แสง หรือ Optical Mouse ภายในเม้าส์ประกอบด้วยเซ็นเซอร์แสง ซึ่งมักจะทำงานผิดปกติเมื่อมีฝุ่นผง สามารถทำความสะอาดโดยอุปกรณ์เป่าฝุ่น


การดูแลรักษาแป้นพิมพ์ (Keyboard)

แป้นพิมพ์ (Keyboard) การป้อนข้อมูลจำนวนมากทุกวัน หรือเอาแป้นพิมพ์ไปใช้เล่นเกมส์ จะพบว่าปุ่มบางปุ่มจะเสียตั้งแต่ยังไม่ครบปี อายุการใช้งานของแป้นพิมพ์จะผ่านปีแรกและปีที่สองไปได้ อย่างสบาย แต่ถ้าแป้นพิมพ์เกิดเสียหลังจากปีแรก ซึ่งเลยระยะรับประกันแล้ว ไม่ควรซ่อม ให้ซื้อใหม่จะดีกว่า นอกจากนี้ยังมีแป้นพิมพ์ที่มีราคาแพงเกินหนึ่งพันบาทขึ้นไป เช่น ไมโครซอฟต์คีย์บอร์ด หรือคีย์บอร์ดของไอบีเอ็ม แป้นพิมพ์เหล่านี้จะมีรูปทรงถูกสุขลักษณะ ไม่ทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยข้อมือ มีความทนทานสูงและตอบสนองต่อการกดแป้นพิมพ์จะดีกว่าแป้นพิมพ์ราคาถูก

ในการทำความสะอาด Keyboard ในนำผ้าหมาด ๆ เช็ดให้ทั่วบริเวณแป้นพิมพ์ให้สะอาด (ห้ามใช้ผ้าชุบน้ำ) การดูแลรักษาก็ง่าย ๆ เอาผ้าคลุมไว้ แต่ keyboard ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องความสกปรกสักเท่าไรหรอก เพราะใช้อยู่ทุกวันจะมีก็แต่ขนมหล่นใส่ เป็นคราบดำ ๆ ไม่ก็เอาแปรงมาปัด

การดูแลรักษาดิสก์ไดรฟ์ (Disk Drive)


             ดิสก์ไดร์ฟ (Disk Drive) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้อ่านและเขียนข้อมูลลงในแผ่นฟลอปปีดิสก์ ซึ่งดิสก์ไดร์ฟก็มีหลายชนิด แต่ในปัจจุบันเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วๆไปมักจะใช้ดิสก์ไดร์ฟขนาด 3.5 นิ้ว การใช้งานดิสก์ไดร์ฟโดยทั่วไปไม่ค่อยมีปัญหาเท่าไรนัก ถ้าผ่านปีแรกไปได้แล้วก็มักจะผ่านไปถึงปีที่ 3 ถ้าหากว่าดิสก์ไดร์ฟเสียในช่วงปีแรกก็สามารถส่งซ่อมหรือเปลี่ยนใหม่ แต่ถ้าเสียหลังจากปีแรกแล้ว ก็ควรที่จะซื้อเปลี่ยนใหม่ เพราะถ้าซ่อมจะไม่คุ้มค่า เพราะราคาดิสก์ไดร์ฟในปัจจุบันมีราคาถูกมาก
การดูและรักษา Disk Drive ควรปฏิบัติดังนี้
- เลือกใช้แผ่นดิสก์ที่สะอาดคือไม่มีคราบฝุ่น ไขมัน หรือรอยขูดขีดใดๆ
- ใช้น้ำยาล้างหัวอ่านดิสก์ทุกๆเดือน
- หลีกเลี่ยงการใช้แผ่นดิสก์เก่าที่เก็บไว้นาน ๆ เพราะจะทำให้หัวอ่าน Disk Drive สกปรกได้ง่าย

การดูแลรักษาซีดีรอมไดรฟ์ (CD-ROM Drive)

ซีดีรอมไดร์ฟ (CD-Rom Drive) ในปัจจุบันเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่มักจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบมัลติมีเดีย หรือเป็นสื่อผสม ซึ่งจะต้องใช้สื่อบันทึกข้อมูลที่สามารถบันทึกข้อมูลได้มากขึ้น ซึ่งจะมีข้อมูลทั้งภาพและเสียง ดังนั้น แผ่นซีดีรอมจึงเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เมื่อมีแผ่นซีดีรอมเครื่องคอมพิวเตอร์ก็จะต้องมีเครื่องผ่านแผ่นซีดีรอมที่เรียกว่า ซีดีรอมไดร์ฟ ข้อควรระวังก็คือ ไม่ควรนำแผ่นซีดี ที่เสียแล้ว หรือมีรอยขีดข่วนมากๆ มาอ่าน เพราะอาจทำให้หัวอ่านชำรุดได้ รวมถึงการใช้น้ำยาล้างหัวอ่านผิดประเภทด้วย

ใช้น้ำยาทำความสะอาดสำหรับเครื่องคอมฯ เช็ด บริเวณด้านนอก โดยอาจใช้พู่กันเล็กๆ ช่วยในการปัดฝุ่นออกเสียก่อน จากนั้นจึงใช้น้ำยาทำความสะอาดเช็คเครื่องคอมฯ ข้อควรระวัง! โดยปกติน้ำยาเหล่านี้ ห้ามเช็คหน้าจอ ถ้ามีฝุ่นหรือคราบนิ้วมือ ให้ใช้ผ้าสะอาดเช็ดก็เพียงพอแล้ว (ทิป น้ำยาทำความสะอาด โดยทั่วไป การใช้ควรใส่น้ำยาบนผ้าที่สะอาด จากนั้นลูบไปบริเวณตัวเครื่อง ทิ้งไว้สักพัก และค่อยเช็ดออก จะช่วยลดแรงในการขัดได้มาก)